วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เคมีอินทรีย์




  • เคมีอินทรีย์
    หมายถึงสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเกี่ยวกับชนิด สมบัติ การสังเคราะห์ และปฏิกิริยาของสารประกอบอินทรีย์

    สารอินทรีย์
    หมายถึงสารประกอบที่มีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ ทั้งที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต และจากการสังเคราะห์ ยกเว้นสารต่อไปนี้ ซึ่งเป็นสารอนินทรีย์

    ออกไซด์ของคาร์บอน เช่น CO2

    เกลือคาร์บอเนต  และไฮโดรเจนคาร์บอเนต เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (NaHCO3)

    เกลือคาร์ไบด์ เช่น แคลเซียมคาร์ไบด์ (CaC2)

    เกลือไซยาไนด์ เช่น โพแทสเซียมไซยาไนด์ (KCN) , โซเดียมไซยาไนด์ (NaCN)

    เกลือไซยาเนต เช่น แอมโมเนียมไซยาเนต (NH4OCN)

    สารที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอนเพียงชนิดเดียว เช่น เพชร แกรไฟต์ ฟุลเลอรีน สูตรโครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์
    มันเป็นสิ่งจำเป็นในการวาดสูตรโครงสร้างสำหรับสารประกอบอินทรีย์เพราะในกรณีส่วนใหญ่สูตรโมเลกุลที่ไม่ซ้ำกันไม่ได้เป็นตัวแทนของสารประกอบเดียว สารประกอบที่แตกต่างกันที่มีสูตรโมเลกุลเดียวกันจะเรียกว่าไอโซเมอและความชุกของอินทรีย์สารอินทรีย์สะท้อนให้เห็นถึงความเก่งกาจพิเศษของคาร์บอนในการสร้างพันธะที่แข็งแกร่งเพื่อตัวเองและเพื่อให้องค์ประกอบอื่น
  • คุณสมบัติของสารอินทรีย์
    สารประกอบเคมีอินทรีย์เป็นสารประกอบที่มีโมเลกุลเกิดจากการดึงดูดกันระหว่างอะตอมของธาตุต่างๆ ด้วยพันธะโคเวเลนต์ (covalent bond) เนื่องจากธาตุคาร์บอนมีอะตอมที่เชื่อมต่อกันเองและธาตุอื่นๆ ด้วยพันธะโคเวเลนต์แล้วมีความเสถียรสูงมากซึ่งจะเห็นได้การต่อกันเองของธาตุคาร์บอนเป็นโซ่ยาวๆ หรือต่อกันเป็นวงกลมก็ได้ ทำให้สารประกอบเคมีอินทรีย์มีความแตกต่างจากสารประกอบอนินทรีย์เคมีดังนี้
    สารประกอบเคมีอินทรีย์จะหลอมเหลวหรือสะลายตัวที่อุณหภูมิต่ำกว่า 300 °C
    สารประกอบเคมีอินทรีย์ที่เป็นกลางจะละลายในน้ำได้น้อยกว่าสารประกอบอนินทรีย์เคมีประเภทเกลือยกเว้นสารประกอบเคมีอินทรีย์ประเภทไอออนิก และประเภทน้ำหนักโมเลกุลต่ำๆอย่างแอลกอฮอล์และกรดคาร์บอกซิลิก (carboxylic acids)
    สารประกอบเคมีอินทรีย์ละลายได้ดีในตัวทำละลายที่เป็นสารอินทรีย์เช่นอีเทอร์ (ether) หรือแอลกอฮอล์แต่การละลายมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับฟังชั่นแนลกรุ๊ป (functional groups) และโครงสร้างทั่วไปของสาร